วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2560

แนวปฏิบัติและการใช้กติกาของสหพันธ์เซปักตะกร้อนานาชาติ
ข้อ 1 สนามแข่งขัน(the court)
          1.1 สนามต้องมีขนาดมาตรฐานตามที่สหพันธ์เซปักตะกร้อนานาชาติ (ISTAF) กำหนด (ความยาว 13.40 เซนติเมตร ความกว้าง 6.10 เซนติเมตร)
          1.2 พื้นผิวสนามต้องเรียบและไม่ลื่นปัจจุบันการแข่งขันรายการสำคัญๆ จะใช้คอร์ทยาง ซึ่งมีมาตรฐานใกล้เคียงกับสนามแบตมินตัน
          1.3 เส้นแบ่งแดนมีความกว้าง 2 เซนติเมตร ตีตัวเส้นทับสนามทั้งด้านซ้ายและด้านขวา ด้านละ 1 เซนติเมตร
          1.4 เส้นเสี้ยววงกลมมีขนาดกว้าง 4 เซนติเมตรตีตัวเส้นไว้นอกรัศมี 90 เซนติเมตร
          1.5 วงกลมเสิร์ฟมีขนาดตัวเส้น 4 เซนติเมตรตีตัวเส้นไว้นอกพื้นที่วงกลมรัศมี 30 เซนติเมตร



ข้อ 2 เสา(the posts)
          2.1 มีรัศมีไม่เกิน 4 เซนติเมตรเป็นรูปทรงกระบอกทำให้ช่วยลดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บจากการกระแทก
          2.2 ประเภททีมชายมาตรฐานความสูงของเสา 1.55 เมตร
          2.3 ประเภททีมหญิงมาตรฐานความสูงของเสา 1.45 เมตร
          2.4 ประเภททีมเยาวชนอายุไม่เกิน 12 ปี ให้ใช้เสามาตรฐานความสูงเท่ากับประเภททีมหญิง

ข้อ 3 ตาข่าย(the net)
          3.1 การติดแถบแสดงเขตสนาม (มีความกว้าง 5 เซนติเมตร) ให้ติดตรงแนวเดียวกับเส้นข้างทั้งสองด้านโดยให้ขอบนอกของแถบแสดงเขตสนามอยู่ตรงกับขอบนอกของเส้นข้างเพื่อเป็นตัวกำหนดพิจารณาลูกอ้อมและลูกออก
          3.2 การวัดความสูงตาข่าย ให้วัด ณ จุดกึ่งกลางสนามจากขอบบนลงมาในแนวดิ่งถึงพื้นสนามความสูง ทีมชาย 1.52 เมตร ทีมหญิง 1.42        เมตร ทีมเยาวชนอายุไม่เกิน 12 ปีใช้มาตรฐานความสูงเดียวกับทีมหญิง

ข้อ 4 ลูกตะกร้อ(the takraw ball)
          4.1 ในการแข่งขัน ต้องใช้ลูกตะกร้อตามรูปลักษณ์และมาตรฐานตามที่สหพันธ์เซปักตะกร้อนานาชาติ (ISTAF) กำหนด โดยทำด้วยใยสังเคราะห์รายการแข่งขันที่สำคัญและมีมาตรฐานต้องแจ้งให้ทีมสามชิกที่ร่วมแข่งขันทราบล่วงหน้าถึงประเภทและรุ่นของอุปกรณ์




ข้อ 5 ผู้เล่น(the players)
          5.1 ผู้เล่นทีมมี 3 คน เรียกชื่อตามตำแหน่งการเล่นคือหน้าขวาหน้าซ้ายและผู้เสิร์ฟ
ข้อ 6 เครื่องแต่งกายของผู้เล่น(player’s attire)
          6.1 ห้ามสวมเครื่องประดับ/เครื่องแต่งกายที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเองและรบกวนคู่แข่งขัน
          6.2 ตลอดเกมการแข่งขันนักกีฬาต้องเก็บชายเสื้อไว้ในกางเกง
          6.3 สิ่งที่ช่วยเร่งความเร็วและความแรงของลูกตะกร้อ ไม่อนุญาตให้ใช้
          6.4 หัวหน้าทีมสวมปลอกแขนที่แขนเสื้อด้านซ้ายโดยทีมจัดหามาเอง
6.5 ทีมต้องเตรียมชุดสำหรับการแข่งขัน เป็นชุดสีเข้มกับสีอ่อน ในกรณีที่ชุดแข่งขันของทั้งสองทีมเหมือนกัน ทีมที่ต้องเปลี่ยนชุดคือทีมที่เป็นชื่อแรกในรายการแข่งขันกับทีมที่เป็นเจ้าบ้าน





ข้อ 7 การเปลี่ยนตัวผู้เล่น(substitution)
          7.1 ปัจจุบันสามารถขอเปลี่ยนตัวได้ตั้งแต่ยังไม่เริ่มการแข่งขันในทีมหรือเซ็ทนั้นแต่ผู้ตัดสินจะประกาศเปลี่ยนตัวให้ผู้เล่นออก และเข้าเมื่อจะเริ่มการแข่งขัน (ศูนย์-ศูนย์) หรือเมื่อลูกตายในระหว่างการแข่งขัน
          7.2 การเปลี่ยนตัวแต่ละทีม (REGU) สามารถเปลี่ยนตัวได้ 2 ครั้งต่อเซ็ท
          7.3 ระหว่างการแข่งขันทีมใดที่เหลือผู้เล่นน้อยกว่า 3 คน (จากการบาดเจ็บหรือได้รับบัตรแดงและทีมนั้นใช้สิทธิ์ในการเปลี่ยนตัวครบแล้ว) การแข่งขันจะหยุดลง และปรับทีมนั้นให้มีผลแพ้
ข้อ 8 การเสี่ยงหรือการอบอุ่นร่างกาย(the coin toss and warm up)
          8.1 กรรมการประจำสนามเป็นผู้ดำเนินการเสี่ยงสิทธิและควบคุมการอบอุ่นร่างกายหากไม่ได้จัดให้มีกรรมการประจำสนามให้ผู้ตัดสินดำเนินการเสี่ยง
          8.2 ตัวแทนทีมที่ทำหน้าที่เสี่ยงสิทธิคือหัวหน้าทีม
          8.3 ระหว่างการอบอุ่นร่างกายให้มีนักกีฬาหรือเจ้าหน้าที่ทีมไม่เกิน 5 คนเป็นผู้อยู่ในใบส่งรายชื่อในแมทช์นั้นๆโดยจะเป็นผู้จัดการทีมฝึกสอนหรือนักกีฬาก็ได้
ข้อ 9 ตำแหน่งของผู้เล่นระหว่างการส่งลูก(position of players during service)
          9.1 ขณะทำการเสิร์ฟนักกีฬาทั้งสองทีมยืนให้ถูกต้องตามกติกาในลักษณะเตรียมพร้อมมีรูปแบบดังนี้
                   9.1.1 ฝ่ายรุก
                             1. ผู้เล่นหน้ายืนอยู่ในเสี้ยววงกลม
                             2. ผู้เสิร์ฟวางเท้าหลักอยู่ในวงกลมเสิร์ฟเท้าที่ใช้เตะส่งลูกอยู่นอกวงกลมเสิร์ฟ
                   9.1.2 ฝ่ายรับ
                             1. จะยืนตั้งรับในลักษณะใดก็ได้ในแดนของตน
                             2. การสกัดกั้นลูกเสิร์ฟสามารถทำได้แต่ต้องไม่รบกวนการเสิร์ฟตามกติกา
ข้อ 10 การเริ่มเล่นและการส่งลูก(the start play & service)
          10.1 ฝ่ายได้ส่ง (จากการเสี่ยงสิทธิ์และการเลือกสิทธิ์) ให้เป็นฝ่ายส่งลูกเริ่มเล่นก่อนในเซ็ทที่ 1
          10.2 ทีมที่ไม่ได้เสิร์ฟในเซ็ทที่ 1 จะเป็นผู้สลับเสิร์ฟในเซ็ทที่ 2 และเสิร์ฟจนสิ้นสุดการแข่งขัน
          10.3 การเสิร์ฟที่ถูกต้องและสมบูรณ์แบบ ลูกตะกร้อต้องข้ามตาข่ายอยู่ในขอบเขตสนาม
          10.4 การเสิร์ฟ ผู้เสิร์ฟจะใช้ท่าใดหรือส่วนใดของเท้าก็ได้ในการเสิร์ฟ (ตั้งแต่ข้อเท้าหรือตาตุ่มลงไป)
ข้อ 11 การผิดกติกา(faults)
          11.1 สำหรับผู้เล่นฝ่ายเสิร์ฟระหว่างการเสิร์ฟเมื่อผู้ตัดสินขานคะแนนจบการกระทำ ดังนี้ของฝ่ายเสิร์ฟถือว่าผิดกติกา
                 11.1.1 เสิร์ฟลูกตะกร้อไม่ข้ามตาข่าย
                 11.1.2 ผู้โยนลูกโยนลูกเล่นโยนลูกสลับมือ
                 11.1.3 ผู้โยนลูกเคาะลูกเล่นกระดอนลูกลงพื้น
          11.2 กระโดดในเสี้ยววงกลม
                 11.2.1 ผู้เสิร์ฟกระโดดออกจากวงกลมเสิร์ฟเพื่อเสิร์ฟลูก
                 11.2.2 ผู้เสิร์ฟเอาเท้าหลังออกนอกวงกลมทั้งเท้าเพื่อเสิร์ฟลูก
                 11.2.3 ผู้เล่นหน้าโยนลูกมาให้เสิร์ฟแต่ผู้เล่นหลังไม่เสิร์ฟ
          11.3 สำหรับผู้เล่นทั้งสองฝ่ายระหว่างการแข่งขัน
                 11.3.1 การเล่นลูกล้ำฝ่ายตรงข้าม over net ถือว่าผิดกติกา
          11.4 ระหว่างการเล่น แต่ละฝ่ายเล่นลูกต่อเนื่องในการโต้ลูกได้ไม่เกิน 3 ครั้ง
          11.5 การหนีบลูกไว้ระหว่างขาทั้งสองข้างหรือระหว่างหน้าขากับลำตัวถือว่าผิดกติกา
ข้อ 12 การนับคะแนน(scoring system)
          12.1 ระบบการนับคะแนนฉบับปัจจุบันเปลี่ยนแปลงจากระบบเดิมมาเป็นระบบแต้มไหล (rally point) ซึ่งไม่ถือว่าฝ่ายใดทำผิดกติกา ฝ่ายตรงข้ามได้คะแนนและได้ส่งครั้งต่อไปด้วย
          12.2 การแข่งขันในเซทที่ 3 ในประเภททีมชุด ในประเภททีมเดี่ยวไม่มีการเสี่ยงหาผู้เสิร์ฟ เมื่อการแข่งขันในเซทก่อนสิ้นสุดลง ให้ทั้งสองทีมเปลี่ยนแดนและพัก
ข้อ 13 การขอเวลานอก(time out)
          13.1 การขอเวลานอก เจ้าหน้าที่ทีมต้องแสดงสัญญาณมือเป็นรูปตัวที (T) ต่อผู้ตัดสิน
          13.2 แต่ละทีมสามารถขอเวลานอกได้เซ็ทละ 1 ครั้งๆ ละ 1 นาที
ข้อ 14 อุบัติเหตุและการหยุดการแข่งขัน(temporary suspension of play)
          14.1 ผู้ตัดสินสามารถหยุดการแข่งขันได้ไม่เกิน 5 นาที อันเนื่องมาจากสิ่งกีดขวางสิ่งรบกวน สภาพสถานไม่ได้มาตรฐาน หรือนักกีฬาเกิดอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บ
          14.2 นักกีฬาที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุขณะการแข่งขัน ให้หยุดการแข่งขันได้ไม่เกิน 5 นาที ภายหลังครบ 5 นาทีแล้ว ยังไม่สามารถทำการแข่งขันต่อไป หากทีมนั้นยังไม่เปลี่ยนตัวผู้เล่นให้เปลี่ยนตัวผู้เล่นสำรองลงเล่นแทน
          14.3 ผู้ตัดสินจะใช้ดุลยพินิจที่จะให้เจ้าหน้าที่ทีมลงไปดูแลนักกีฬาที่บาดเจ็บหรือไม่ก็ได้
ข้อ 15 วินัยและมารยาทในการแข่งขัน(discipline)
          15.1 นักกีฬาทุกคนต้องปฏิบัติตามกติกา และแนวปฏิบัติตามระเบียบการแข่งขันและมารยาทและภาพลักษณ์อันดีงามของการแข่งขัน
          15.2 ระหว่างการแข่งขันหัวหน้าทีมเท่านั้นที่มีสิทธิ์ทักท้วง ซักถามต่อผู้ตัดสินในลักษณะสุภาพในการแข่งขันระดับนานาชาติ

ข้อ 16 ความผิดและบทลงโทษ(penalty)
มี 2 ระดับ ดังนี้
          16.1 บัตรเหลือง เพื่อตักเตือนเมื่อนักกีฬาปฏิบัติดังนี้
                   1. เยาะเย้ย ถากถาง ชี้หน้าฝ่ายตรงข้าม
                   2. ไม่ปฏิบัติตามกติกาการแข่งขัน เช่น ดึงเชือกรองเท้าแล้วผูกใหม่โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสิน
                   3. เดินไปเก็บลูกหรือออกไปเช็ดหน้านอกสนาม โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสิน
          16.2 บัตรแดง ให้ออกจากการแข่งขันเมื่อนักกีฬาปฏิบัติดังนี้
                    1. การกระทำผิดกติกาอย่างร้ายแรง
                   2. เจตนาทำร้ายผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามโดยการชกต่อย เตะ หรือการเล่นลูกอันตราย
                   3. ถ่มน้ำลายใส่นักกีฬาทีมตรงข้าม กองเชียร์ ผู้ตัดสิน
                   4. นักกีฬาคนเดียวกันได้รับบัตรเหลืองใบที่ 2 ในเกมการแข่งขันเดียวกัน
ข้อ 17 ความผิดของเจ้าหน้าที่ทีม(misconduct of team officials)
       ในทางปฏิบัติหากมีทีมหรือเจ้าหน้าที่ของทีมคนใดกระทำความผิดเกี่ยวกับวินัยและมารยาททั้งในและนอกสนามแข่งขัน เจ้าหน้าที่ทีมหรือทีมนั้นๆ จะต้องถูกพิจารณาลงโทษทางวินัยและมารยาท
ข้อ 18 บททั่วไป(general)
       ปัญหาหรือข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างการแข่งขันให้พิจารณาตามที่กติกากำหนดไว้หากกรณีใดไม่มีกติกาข้อใดๆ รองรับให้กรรมการผู้ชี้ขาด มีอำนาจในการพิจารณาตัดสินชี้ขาดและให้ถือเป็นที่สิ้นสุด



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น